10 ตุลาคม 2552

ข้อบังคับชมรมอิเล็กทรอนิกส์เมืองลุง

(ร่าง)
ข้อบังคับ
ของ
ชมรมอิเล็กทรอนิกส์เมืองลุง
http://electronics.muanglung.com/

หมวดที่ ๑

ความทั่วไป

ข้อ ๑.ชมรมนี้มีชื่อว่า ชมรมอิเล็กทรอนิกส์เมืองลุง

เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Electronics Club of Muanglung

ข้อ ๒. เครื่องหมายของชมรมมีลักษณะเป็นรูป

มีความหมายว่า

รูปของเครื่องหมายชมรม

ข้อ ๓. สำนักงานของชมรมตั้งอยู่ ณ แผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง

ข้อ ๔.วัตถุประสงค์ของชมรม เพื่อ
๔.๑เพื่อปฏิบัติและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับวิชาชีพและการดำรงไว้ซึ่งความเป็นพี่น้องในวิชาชีพ
๔.๒ เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับสมาชิกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพและการดำเนินกิจกรรมของสมาชิก
๔.๓ ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในการดำรงชีวิต และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

หมวดที่ ๒
สมาชิก
ข้อ ๕.สมาชิกของชมรมมี ๒ ประเภท คือ
๕.๑ สมาชิกสามัญได้แก่ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากแผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง
๕.๒ สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ครู อาจารย์ แผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุงที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคพัทลุงและบุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการคุณแก่ชมรม ซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของชมรม
ข้อ ๖. สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
๖.๑ เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
๖.๓ ไม่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถหรือเสมือน
ไร้ความสามารถ หรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาท หรือลหุโทษ การต้อง
คำพิพากษาของศาลถึงที่สุดในกรณีดังกล่าว จะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก
หรือในระหว่างที่เป็นสมาชิกของชมรมเท่านั้น
ข้อ ๗. ค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงชมรม
๗.๑ สมาชิกสามัญจะต้องเสียค่าลงทะเบียนครั้งแรก ........................... บาท
ค่าบำรุงชมรมเป็นรายปีละๆ......................บาท
๗.๒ สมาชิกกิตติมศักดิ์ มิต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงชมรมแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ข้อ ๘. สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณา ลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของชมรม ได้มาถึงยังชมรม
ข้อ ๙. สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
๙.๑ ตาย
๙.๒ ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกหรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจาก
ทะเบียนเพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤตินำความเสื่อมเสียมาสู่ชมรม
ข้อ ๑๐. สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
๑๐.๑ มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของชมรมโดยเท่าเทียมกัน
๑๐.๒ มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของชมรมต่อคณะกรรมการ
๑๐.๓ มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่ชมรมได้จัดให้มีขึ้น
๑๐.๔ มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของชมรม
๑๐.๕ สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการชมรม
และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมได้คนละ ๑ คะแนนเสียง
๑๐.๖ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของชมรม
๑๐.๗ มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย ๑ ใน ๕ ของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือสมาชิกจำนวน
ไม่น้อยกว่า ๔๐ คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
๑๐.๘ มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของชมรมโดยเคร่งครัด
๑๐.๙ มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของชมรม
๑๐.๑๐ มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของชมรม
๑๐.๑๑ มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่ชมรมได้จัดให้มีขึ้น
๑๐.๑๒ มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของชมรมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

หมวดที่ ๓
การดำเนินกิจการชมรม
ข้อ ๑๑. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารกิจการของชมรม มีจำนวนอย่างน้อย ๑๑ คน
อย่างมากไม่เกิน ๒๑ คน คณะกรรมการนี้ ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ของชมรม และให้ผู้ที่ได้เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ เลือกตั้งกันเองเป็นนายกชมรม ๑ คน และอุปนายก ๒ คน สำหรับตำแหน่งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ให้นายกชมรมเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ของชมรม ตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งตำแหน่งของกรรมการชมรมมีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้
๑๑.๑ นายกชมรม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของชมรม คณะกรรมการของ
ชมรมเป็นผู้แทนชมรมในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและทำหน้าที่
เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ และการประชุมใหญ่ของชมรม
๑๑.๒ อุปนายก ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกชมรมในการบริหารกิจการชมรม ปฏิบัติตาม
หน้าที่ที่นายกชมรมได้มอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกชมรม
เมื่อนายกชมรมไม่อยู่ หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกชมรม ให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำการแทน
๑๑.๓ เลขานุการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของชมรมทั้งหมดและปฏิบัติตามคำสั่งของนายกชมรม
ตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของชมรม
๑๑.๔ เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของชมรม เป็นผู้จัดทำบัญชี รายรับ รายจ่าย
บัญชีงบดุลของชมรม และเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของชมรมไว้เพื่อ
ตรวจสอบ
๑๑.๕ ปฏิคม มีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของชมรม และร่วมจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ
ของชมรม
๑๑.๖ นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของชมรมประสานงานกับ
เหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงชมรมจากสมาชิก
๑๑.๗ ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของชมรมให้สมาชิก และ
บุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
๑๑.๘ กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น
โดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกิน
จำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่ง
ก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง
ข้อ ๑๒. คณะกรรมการของชมรมสามารถอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ ปี และเมื่อคณะกรรมการอยู่ใน ตำแหน่งครบกำหนดตามวาระแล้วแต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของชมรม ก็ให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อน จนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของชมรม และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของชมรมเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ให้ทำการส่งและรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและ คณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของชมรม
ข้อ ๑๓. ตำแหน่งกรรมการชมรม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญ คนใด คนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ใน ตำแหน่งได้เท่ากับ วาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น
ข้อ ๑๔. กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้ คือ
๑๔.๑ ตาย
๑๔.๒ ลาออก
๑๔.๓ ขาดจากสมาชิกภาพ
๑๔.๔ ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่ง
ข้อ ๑๕. กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ
คณะกรรมการ และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการมีมติให้ออก
ข้อ ๑๖. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
๑๖.๑ มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้อง
ไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้
๑๖.๒ มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการ
จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
๑๖.๓ มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ
๑๖.๔ มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
๑๖.๕ มีอำนาจบริหารกิจการของชมรม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอำนาจอื่น ๆ
ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
๑๖.๖ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของชมรม
๑๖.๗ มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญจำนวน ๑ ใน ๕ ของสมาชิก
ทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่
วิสามัญขึ้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ

๑๖.๘ มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนิน
กิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้
เมื่อสมาชิกร้องขอ
๑๖.๙ จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของชมรม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ
๑๖.๑๐ มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
ข้อ ๑๗. คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อย ปีละ ครั้ง โดยให้จัดขึ้นภายใน
เดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคมของทุกปี ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของชมรม
ข้อ ๑๘. การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด
จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๑๙. ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกชมรมและอุปนายกชมรมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็น ประธานในการประชุมคราวนั้น

หมวดที่ ๔
การประชุมใหญ่
ข้อ ๒๐. การประชุมใหญ่ของชมรมมี ๒ ชนิด คือ
๒๐.๑ ประชุมใหญ่สามัญ
๒๐.๒ ประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ ๒๑. คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๆ ละ ๑ ครั้ง ภายในเดือน
ของทุก ๆ ปี
ข้อ ๒๒. การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้น
ด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๔๐ คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น
ข้อ ๒๓. การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ และการแจ้ง จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้ สมาชิกได้ทราบ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน และประกาศแจ้งกำหนดนัดประชุมไว้ ณ สำนักงาน ของ ชมรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่
ข้อ ๒๔. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
๒๔.๑ แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
๒๔.๒ แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
๒๔.๓ เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบกำหนดวาระ
๒๔.๔ เรื่องอื่น ๆ ถ้ามี
ข้อ ๒๕.ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วม ประชุมไม่ น้อย กว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมี สมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้คณะกรรมการของชมรม พิจารณาเห็นชอบตามสมควร
ข้อ ๒๖.การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๗.ในการประชุมใหญ่ของชมรม ถ้านายกชมรม และอุปนายกชมรมไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่ง ให้ทำหน้าที่เป็น ประธานในการประชุมคราวนั้น

หมวดที่ ๕
การเงินและทรัพย์สิน
ข้อ ๒๘. การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของชมรมถ้ามีให้นำฝากไว้ ในธนาคาร กรุงไทย สาขา โลตัส พัทลุง
ข้อ ๒๙. การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของชมรม จะต้องมีลายมือชื่อของนายกชมรม หรือผู้ทำการแทนลงนาม ร่วมกับ เหรัญญิก หรือเลขานุการ พร้อมกับประทับตราของชมรมจึงจะถือว่าใช้ได้
ข้อ ๓๐. ให้นายกชมรมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของชมรมได้ครั้งละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท
(ห้าพันบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจาก
คณะกรรมการและคณะกรรมการจะอนุมัติให้จ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน๒๐๐,๐๐๐ บาท
(สองแสนบาทถ้วน) ถ้าจำเป็นจะต้องจ่ายเกินกว่านี้ ต้องได้รับอนุมัติ
จากที่ประชุมใหญ่ของชมรม
ข้อ ๓๑.ให้เหรัญญิก มีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของชมรมได้ไม่เกิน๕,๐๐๐บาท
(ห้าพันบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้ จะต้องนำฝาก
ธนาคารในบัญชีของชมรมทันทีที่โอกาสอำนวยให้
ข้อ ๓๒.เหรัญญิก จะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับหรือ
จ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายกชมรมหรือผู้ทำการแทน
ร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทน พร้อมกับประทับตราของชมรมทุกครั้ง

หมวดที่ ๖
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกชมรม
ข้อ ๓๓. ข้อบังคับชมรมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้คณะกรรมการของชมรม พิจารณาเห็นชอบตามสมควร มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
ข้อ ๓๔. การเลิกชมรม จะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของชมรม มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกชมรมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด
ข้อ๓๕.เมื่อชมรมต้องเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของชมรมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ตกเป็นของ แผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง
////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น: